SSD : Solid State Drives
SSD เป็นการใช้ชิปหน่วยความจำเก็บข้อมูลแทนจานแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์
พูดง่ายๆก็เหมือนกับ FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั่นเอง
มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือชิปหน่วยความจำ
กับชิปคอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมการทำงานของ SSD
SSD นั้นผลิตได้่ 2 แบบ คือ
1. NOR Flash (หน่วยความจำจะถูกเชื่อมต่อ
กันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ อ่านข้อมูลเร็วมาก แต่ มีความจุต่ำ และราคาแพงมาก)
2. NAND Flash (เป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล๊อก ทำให้มีความจุสูง ราคาถูก)
FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้จึงเป็นแบบ NAND Flash เพราะราคาถูกกว่า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
- Single-Level Cell (SLC) : ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ทำงานเร็ว
กินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน (เขียนได้ 1 แสนครั้งโดยประมาณ)
แต่ราคาสูง
- Multi-Level Cell (MLC) : 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต (ปัจจุบัน
1 เซลเก็บได้ 2 บิต และอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ความเร็วต่ำกว่า ใช้พลังงานมากกว่า SLC เขียนได้ ไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง แต่มีราคาถูก)
ข้อดีของ SSD
- ใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ เพราะไม่มีหัวอ่าน
ไม่มีจานแม่เหล็ก ไม่ต้องหมุน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เลย ปัจจุบัน SSD
มีความเร็วในการอ่านถึง 120 MB/s และเขียนที่ 100MB/s
ซึ่งเกือบจะเร็วเท่าฮาร์ดดิสก
์ที่เร็วที่สุดอยู่แล้ว และสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล(นี่เพิ่งเริ่มต้น)
- เงียบ เพราะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้เหมือนอาร์ดดิสก์
- ทนแรงกระแทก การสั่นสะเทือน และอุณหภูมิที่สูงกว่า
- น้ำหนักเบา
- ที่สำคัญ ปัญหาเรื่อง การกระจายของไฟล์ (File Fragmentation)
ไม่มีผลต่อ ความเร็วของ SSD อีก (เพราะอะไรเดวจะเข้าใจ) เพราะฉะนั้น
โปรแกรม Defrag จึงไม่จำเป็นต่อ SSD
ข้อเสีย
- ราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์
- ความจุต่ำ
- ความคงทนในการใช้งาน อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า เขียนได้แบบจำกัดจำนวนครั้งต่อ 1 บล๊อก ส่วนอ่านไม่มีปัญหา
จึงได้มีการพัฒนา เทคนิค "Wear-Leveling" ขึ้นมาเพื่อช่วยยืด
อายุการใช้งานหน่วยความจำแบบ Flash หลักการทำงาน คือ ทำการกระจาย
การเขียนข้อมูลไปยังทุกๆบล๊อกของหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้มีการ
เขียนข้อมูลซ้ำที่ตำแน่งเดิมบ่อย ซึ่งจะทำให้เสียเร็วกว่าตำเหน่งอื่นๆ
แบ่งเป็น 2 ประเภท
- Static Wear-Leveling เป็นการค้นหาเนื้อที่หน่วยความจำทั้งหมด
โดย
จะย้ายไฟล์ในบล๊อกที่ใช้งานบ่อย ไปบล๊อกที่ใช้งานน้อยที่สุด
โดยจะย้ายทั้งไฟล์ระบบ หรือไฟล์ที่ปกติไม่มีการย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่
- Dynamic Wear-Leveling คล้ายกับประเภทแรก แต่จะไม่ยุ่งกับ
พวกไฟล์ระบบ การย้ายและเขียนข้อมูลใหม่จึงทำในส่วนบล๊อคที่เป็นข้อมูลทั่วไป
และบล๊อกที่ว่างอยู่ (กระจายแต่ไม่ทั่วทั้งความจุ)
ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะมีเทคนิคดังกล่าว แต่ความคงทนในการใช้งาน
ก็ยังมีความคลุมเครืออยู่พอสมควร ผู้ผลิตบางที่บอก แสน บางที่บอกล้านครั้ง
ส่วนการดูแลรักษาก็ไม่มีไรมาก ถึกกว่า HDD เสียอีก ที่สำคัญ
ต้องย้ำเลยนะครับว่า ไม่มีความจำเป็นต้อง Defreg ข้อมูลเลย เพราะจะทำให้ SSD เสื่อมสภาพไวกว่าที่ควร เพราะจากคุณสมบัติข้างต้น
เป็นอย่างไรบ้างกับบทความที่ย่อมาฝากหวังว่าคงมีประโยชน์กานนะ กว่าจะพิมพ์หมดเหมื่อยๆ
ขอบคุณ หนังสือ Shopping Computer
เครื่องถ่ายเอกสาร TOSHIBA จัดจำหน่ายและบริการเช่าเครื่องถ่ายเอกสารแบบมัลติฟังก์ชั่นโตชิบา โดยบริษัท TOSHIBATEC (THAILAND) จัดจำหน่ายโดยตรงจากฝ่ายขายสำนักงานใหญ่ ยินดีให้คำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลได้ที่คุณณัฐศิวัช Tel:0918182892
TOSHIBA e-STUDIO e3508LP / e4508LP / e5008LP
TOSHIBA e-STUDIO e3508LP / e4508LP / e5008LP 35/4550 PPM B&W Multifunction Product 35 PPM Erasable Blue e-BRIDGE Next Technology Large ...
-
Install Toshiba Universal Drivers วิธีการดาวน์โหลดและทำการติดตั้งไดร์เวอร์เครื่องมัลติฟังก์ชั่นโตชิบาบนวินโดวส์ 10 A. เปิดเว็บ...
-
TOSHIBA e-STUDIO e2518A / e3018A / e3518A / e4518A / e5018A ความเร็วในการถ่ายเอกสาร 25, 30, 35, 45, 50 แผ่นต่อนาที (A4)...
-
แอฟพลิเคชั่นการใช้งานของเครื่องถ่ายเอกสารโตชิบาบนมือถือ แอนดรอยคลิกเลย ไอโฟนไอแพดคลิกเลย คำอธิบาย E-BRIDGE พิมพ์และถ่ายภาพเป็นโปรแก...